ต้องยอมเลยว่า กล้องฟิล์ม นั้นกลับมาฮิตอีกรอบและ ปัจจุบันก็มีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็จะเหมาะกับผู้ใช้ในระดับต่าง ๆ ความยาก-ง่าย ความซับซ้อน ในการใช้งานก็จะต่างกัน หากคุณเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อนเลยแล้วอยู่ ๆ มาจับกล้องฟิล์มระดับสูงเลยความยาก มันอาจจะเป็นการทำให้ตัวคุณเองรู้สึกท้อและอาจทำให้คุณไม่อยากจับกล้องฟิล์มอีกเลยก็ได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีเรามาเริ่มจากพื้นฐานกันก่อนดีกว่าครับ ราคาไม่แพงแถมใช้งานง่าย และต่อไปนี้ก็เป็นคำแนะนำดี ๆ ให้คุณใช้เลือกกล้องฟิล์มที่มันเหมาะกับคุณ
1. รูปแบบของกล้อง
กล้องฟิล์ม สามารถแบ่งได้เป็นหลายประเภทมากครับ ขึ้นอยู่ว่าเราจะใช้เกณฑ์อะไรในการแบ่ง ซึ่งมันมีรายละเอียดเยอะมาก ๆ แต่สำหรับมือใหม่ เราแนะนำเป็นกล้องฟิล์มประเภทที่เน้นใช้งานง่าย ๆ และราคาไม่แพงก่อนดีกว่าครับ อย่างที่เราได้บอกไป หากเราเทียบกับกล้องในปัจจุบัน กล้องฟิล์มจะมีความยากลำบากกว่ามาก และต้องใช้เวลากว่าที่จะได้ภาพมา นอกจากนี้คุณยังต้องลุ้นอีกว่าภาพของคุณจะออกมาสวยหรือไม่ ดังนั้นมันอาจทำให้มือใหม่ผิดหวังได้ง่าย ๆ เพราะฉะนั้นกล้องฟิล์มที่เราเลือกมาจะเป็นพวก กล้อง Point & Shoot ครับ ซึ่งจะใช้งานง่าย เห็นอะไรสวย ๆ ก็หยิบขึ้นมาถ่ายได้เลยทันที ไม่ต้องตั้งค่าอะไรให้มันวุ่นวาย เหมาะสำหรับมือใหม่ครับ ซึ่งกล้องแบบนี้ก็จะมีหลายระดับอีกเช่นกัน เราขอหยิบยกมา 3 ประเภท หลัก ๆ ดังนี้
1.1 กล้องใช้แล้วทิ้ง :
กล้องแบบนี้จะเหมาะกับคนที่อยากจะลองเล่นกล้องฟิล์มครับ ซึ่งมันมีราคาไม่สูงมาก ส่วนใหญ่มาพร้อมฟิล์มในตัว คุณสามารถนำไปใช้ถ่ายภาพได้เลย ซึ่งตัวกล้องค่อนข้างบอบบาง เป็นพลาสติกทั้งหมด ตามชื่อเลยครับถูกออกแบบมาให้ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย แต่ก็มีเทคนิคที่ทำให้คุณสามารถเปลี่ยนฟิล์มเข้าไปใหม่เองได้ ซึ่งก็ต้องทำการศึกษาวิธีให้ละเอียดก่อนเปลี่ยนครับ
1.2 กล้องทอย :
ก็จะเหมือนกับกล้องใช้แล้วทิ้งนั้นแหละครับ แต่มันถูกออกแบบมาให้เปลี่ยนฟิล์มได้และมีดีไซน์ที่สวยงามขึ้น ดูไม่เปราะบางเท่ากับกล้องใช้แล้วทิ้งครับ ราคาก็จะสูงขึ้นมาเล็กน้อย
1.3 กล้องคอมแพค :
เป็นกล้องฟิล์มที่เน้นใช้งานง่ายเหมือนกัน แต่จะมีดีไซน์ที่สวยงามกว่ากล้องใช้แล้วทิ้งครับ อาจจะมีระบบออโต้ต่าง ๆ เพิ่มเข้ามาด้วย เพื่อให้คุณได้ภาพที่สวยงามมากขึ้น แต่แน่นอนราคาก็จะสูงขึ้นด้วยครับ
2. ความสามารถของกล้องที่คุณต้องรู้จัก
กล้องทุก ๆ ประเภทมีค่าที่สำคัญอยู่ 3 ค่า เป็นค่าที่ใช้ในการควบคุมค่าแสงของภาพซึ่งสามารถส่งผลต่อภาพถ่ายของคุณได้โดยตรง นั่นคือ รูรับแสง (Aperture), ความไวแสง (ISO) และความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) ถ้าหากคุณอยากเล่นกล้องฟิล์มคุณต้องรู้จักทั้ง 3 ค่า นี้ก่อนครับ
2.1 รูรับแสง (Aperture) :
ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแสงที่จะผ่านเข้าไปในกล้อง โดยปกติแล้วจะแสดงค่าด้วยต่อย่อ อาทิเช่น f/1.4, f/2, ….., f/11 เป็นต้น ให้คุณจำแบบง่าย ๆ ถ้าหาก ตัวเลขน้อย เท่ากับ รูรับแสงกว้าง แสงก็จะผ่านเข้ามาได้มาก ทำให้ภาพที่มีความสว่าง แต่ถ้า ตัวเลขมาก เท่ากับ รูรับแสงแคบ ภาพก็จะรับแสงได้น้อยลง ทำให้ภาพมืด เราจะสังเกตได้ว่ากล้องในปัจจุบันมีค่ารูรับแสงที่น้อยมาก ๆ ถ่ายยังไงก็สวย
2.2 ความไวแสง (ISO) :
เป็นค่าของความไวแสงครับ จะส่งผลต่อแสงในภาพ ในกล้องปัจจุบันเราสามารถปรับค่านี้ได้ที่ตัวกล้องเลย แต่สำหรับกล้องฟิล์ม ความไวแสง จะอยู่ที่ตัวฟิล์มครับ หากฟิล์มมี ISO 100 จะเหมาะกับการถ่ายกลางแจ้งเท่านั้น แต่ถ้าหาก ISO สูงขึ้นมา 200 ถึง 400 ก็จะเหมาะกับการใช้งานทั่ว ๆ ไป ถ่ายได้ทั้งแดดจัดและแสงน้อยครับ
2.3 ความเร็วชัตเตอร์ (Shutter Speed) :
เป็นค่าความเร็วของการเปิดชัตเตอร์ครับ ยิ่งมีการเปิดไว้นานเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งทำให้รับแสงและการขยับของวัตถุได้มากขึ้นเท่านั้นครับ หากนึกภาพไม่ออกให้คุณลองกระพริบตาแบบเร็ว ๆ ดูครับ คุณจะเห็นว่า สิ่งคุณมองเห็นจะ รวดเร็ว คมชัด และมีแสงเข้ามาได้น้อย แต่ถ้าคุณลอง ค่อย ๆ หลับตา และลืมตาขึ้น คุณจะเห็นสิ่งที่คุณมองอยู่ได้นานขึ้น รับแสงได้มากขึ้น และรับการเคลือนไหวได้ สำหรับกล้องฟิล์มส่วนใหญ่จะมีเวลาของการเปิดชัตเตอร์น้อย เนื่องจากในสมัยก่อน ทุกคนจะเน้นไปที่ความคมชัดครับ ซึ่งตัวย่อ คือ 1/125s หรือ 1 ส่วน 125 วินาที มันหมายความว่า ยิ่งสปีดชัตเตอร์มากขึ้น เวลาของการเปิดชัตเตอร์ก็จะยิ่งน้อยลง และหากเปิดชัตเตอร์น้อยลง ภาพก็จะคมชัดมากขึ้นนั่นเองครับ
คุณสามารถใช้ทั้งสามค่านี้มาเป็นปัจจัยในการเลือกกล้องฟิล์ม และฟิล์มของคุณได้ครับ สามารถพิจารณาตามการใช้งานได้เลย สำหรับกล้องฟิล์ม ค่าความไวแสง (ISO) จะอยู่ที่ฟิล์มที่คุณเลือกใช้ซึ่งคุณสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์
3. ระยะโฟกัส
ระยะโฟกัส คือ ระยะที่กล้องสามารถโฟกัสได้ครับ สำหรับกล้องใช้แล้วทิ้ง กล้องทอย คุณจะต้องกะระยะเอาเอง ไม่มีตัวช่วยใด ๆ ดังนั้นในการใช้งานคุณจะต้องอยู่ห่างจากตัวแบบตามระยะที่กล้องรุ่นนั้น ๆ สามารถโฟกัสได้ เช่น 1 เมตรขึ้นไป หากใกล้กว่านั้นตัวแบบก็จะเบลอ แต่ถ้าเป็นกล้องคอมแพคก็จะง่ายขึ้นหน่อย เนื่องจากในช่องมองภาพ จะมีจุดโฟกัสเอาไว้คอยเตือน หากภาพที่คุณกำลังจะถ่ายยังไม่โฟกัส ซึ่งช่วยลดภาพเสียได้เป็นอย่างดี
4. ดีไซน์การออกแบบ
สำหรับดีไซน์ของตัวกล้อง มันก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณชื่นชอบแบบไหน ? เราไม่สามารถบอกได้ว่า อันไหนสวย หรืออันไหนไม่สวย ซึ่งคุณต้องตัดสินใจเอาเองครับ แต่เราอยากให้คุณพิจารณาถึงขนาดของตัวกล้องด้วย เพื่อให้คุณสามารถพกพาได้สะดวกมากยิ่งขึ้นครับ
หลังจากที่คุณอ่านมาถึงส่วนนี้ หากคุณเข้าใจพื้นฐานของกล้องฟิล์ม คุณก็สามารถเลือกซื้อกล้องฟิล์มได้แล้วครับ สำหรับปัจจัยต่าง ๆ เมื่อนำมาประกอบกับความต้องการของคุณ ก็จะทำให้คุณเจอกล้องที่เหมาะกับคุณได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะไปเน้นใช้งานกลางแจ้ง หรือเน้นใช้งานในที่มืด หากเลือกกล้องได้เหมาะสม ภาพก็จะออกมาสวยตามที่คุณต้องการครับ และนี่ก็จะกล้องฟิล์มที่เราได้คัดเลือกมา จะมีรุ่นไหน ? ราคาเท่าไหร่บ้าง ? ไปดูกันเลยครับ