กล้องฟูลเฟรม คือ เราจะยึดฟอร์แมทสมัยยุคฟิลม์เป็นหลัก คือถ้าเราตัดแผ่นฟิลม์35มม. ออกมา1แผ่นจะได้ขนาด36×24มม. พอมาในยุคดิจิตอล เราก็เลยเรียกกล้องที่มีเซ็นเซอร์เท่ากับแผ่นฟิลม์35มม. ว่าฟูลเฟรมนั่นเอง เป็นฟอร์แมทหลัก
กล้องตัวคูณ คือ กล้องที่มีเซ็นเซอร์เล็กกว่าฟิลม์35มม. เช่น เซ็นเซอร์APS-C ก็จะมีขนาดเล็กว่าฟลูเฟรมอยู่1.5เท่า หรือ 1.6เท่า แล้วแต่ยี่ห้อ
ภาพที่ได้ก็จะมีขนาดที่เล็กกว่าเมื่อยืนที่เดียวกัน เหมือนภาพโดนครอปให้แคบขึ้นอีกตามตัวเลขที่บอกไป เวลาใช้งานกับเลนส์ เช่น เลนส์50มม. เราจะไม่ได้ตัวเลข50มม.ตามเลนส์ต้องคูณเพิ่มเข้าไปอีก1.5หรือ1.6แล้วแต่ยี่ห้อ พอคูณออกมาเราจะได้ตัวเลขจริงของเลขตัวนั้นประมาณ75-80มม. เราจึงเรียกว่ากล้องตัวคูณนั่นเอง
จุดเด่นฟูลเฟรม
- มีขนาดเซ็นเซอร์ใหญ่ ทำให้มีขนาด Pixel ใหญ่ด้วย ทำให้มี Noise น้อยกว่า กล้องขนาด APS-C
- สามารถเก็บรายละเอียดของแสงส่วนมืดและสว่างได้ดีกว่า (Dynamic Range)
- มีระยะชัดตื้นมากกว่ากล้อง APS-C
- มีขนาด Sensor ใหญ่ ทำให้คุณภาพของภาพดีกว่า
- ได้มุมรับภาพที่กว้างมากกว่ากล้อง APS-C (ถ้าใช้เลนส์ช่วงเท่ากัน)
จุดเด่นตัวคูณ
- ตัวกล้องมีขนาดเล็กและเบากว่ากล้องที่มีขนาด Full frame
- กล้องAPS-C เมื่อใส่เลนส์ ทางยาวโฟกัสจะมากขึ้น (ด้วยเหตุผลเรื่องตัวคูณเซ็นเซอร์)
- เมื่อใส่เลนส์ตัวเดียวกัน ความคมชัดของภาพที่ได้จะดีกว่ากล้อง Full frame เนื่องจากกล้อง APS-C จะCrop ตรงกลางภาพอยู่แล้ว
สรุป
การใช้งานกล้องแต่ละแบบขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ใช้งาน ว่าต้องการภาพแบบไหน เน้นเก็บรายละเอียดก็ลองหาฟูลเฟรมมาใช้ ถ้าต้องการทางยาวโฟกัสไกลเมื่อใช้งานร่วมกับเลนส์ซูมก็ใช้กล้องตัวคูณจะได้เปรียบ ทั้งหมดนี้ก็มีปัจจัยอย่างอื่นๆด้วย