Slider
ดูหนังเอเชีย

Twitter เปิดบริการใหม่สมัครสมาชิก ‘Blue’ ใหม่

Twitter ได้ระบุบริการสมัครสมาชิกใหม่ในร้านค้าแอปซึ่งบ่งชี้ว่ายักษ์ใหญ่โซเชียลมีเดียกำลังเตรียมที่จะทดลองใช้ข้อเสนอในเร็ว ๆ นี้ “Twitter Blue” ระบุว่าเป็นการซื้อในแอปราคา 2.49 ปอนด์ในสหราชอาณาจักรและ 2.99 ดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา Twitter ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมและปฏิเสธที่จะยืนยันการอ้างสิทธิ์ทางออนไลน์ว่าบริการนี้สามารถ

อนุญาตให้ผู้ใช้ “เลิกทำ” ทวีตได้ ก่อนหน้านี้กล่าวว่ากำลังทำงานกับคุณสมบัติพิเศษสำหรับสมาชิกแบบชำระเงิน Twitter บอกให้ผู้ใช้เป็นคนดีและคิดทบทวน Twitter พบอคติทางเชื้อชาติใน AI การครอบตัดรูปภาพ Twitter บอกให้ผู้ใช้เป็นคนดีและคิดทบทวน บริษัท จะไม่แสดงความคิดเห็นโดยตรงในรายชื่อ แต่เน้นไปที่ BBC ว่าก่อนหน้านี้ได้ประกาศแผนการที่จะกระจายแหล่งรายได้ไปแล้ว แม้ว่าตอนนี้ “Twitter Blue” จะแสดงอยู่ในร้านค้าแอป แต่ก็ยังไม่ได้เปิดใช้งานอย่างสมบูรณ์สำหรับผู้ใช้

ญี่ปุ่นมีแนวคิดให้ Sony ร่วมทุนกับ TSMC

วันพุธที่ 26 พฤษภาคม สำนักข่าวท้องถิ่นของญี่ปุ่น Nikkan Kogyo รายงานว่ารัฐบาลญี่ปุ่นนำโดยกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมมีแนวคิดต้องการให้โซนี่ (Sony) ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภครายใหญ่ของญี่ปุ่นร่วมทุนกับ TSMC ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของโลกจากไต้หวัน เพื่อสร้างโรงงานผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ 20 นาโนเมตรแห่งแรกของญี่ปุ่นด้วยมูลค่า 1 ล้านล้านเยน (287,985 ล้านบาท)โรงงานแห่งนี้จะใช้ผลิตชิปสำหรับรถยนต์ เครื่องจักรในภาคอุตสาหกรรม และอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน โดยจะสร้างใกล้กับโรงงานเซนเซอร์ของโซนี่ในจังหวัดคุมาโมโตะ

ก่อนหน้านี้การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด -19 ในปี 2020 ได้ทำให้อุตสาหกรรมการผลิตชิปปิดตัวลง จึงส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต้องประสบกับปัญหาการขาดแคลนชิปกันทั่วหน้า และต้องปรับลดการผลิตลง ได้แก่ Volkswagen, Fiat Chrysler, Ford และ GM รวมถึงบริษัทผลิตรถยนต์ในญี่ปุ่น คือ Nissan, Mazda, Honda และ Toyota ก็ได้ลดการผลิตรถยนต์ด้วยเช่นกัน

ปลายเดือนมีนาคม โจ ไบเดน (Joe Biden) ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ประกาศแผนการลงทุน 50,000 ล้านเหรียญ (1.573 ล้านล้านบาท) ในการวิจัยและผลิตเซมิคอนดักเตอร์เพื่อสนับสนุนการผลิตชิปในสหรัฐฯ และแก้ปัญหาการขาดแคลนชิปที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมรถยนต์และเครื่องใช้ต่าง ๆ นอกจากนี้ก็มีข่าวว่าจะมีการสร้างโรงงานผลิตชิปในสหรัฐฯ โดย Intel, TSMC และ Samsung

สรุปง่าย ๆ ว่าญี่ปุ่นเองก็มีบริษัทผู้ผลิตรถยนต์และอุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนชิปไม่ต่างจากสหรัฐฯ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องหาวิธีการที่จะช่วยให้เอกชนสามารถแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลกได้ ซึ่งหากสหรัฐฯ ได้เร่งขยับสนับสนุนการสร้างโรงงานผลิตชิป รัฐบาลญี่ปุ่นก็ต้องแอ็กทีฟด้วยเช่นกัน

ตามมาดู Clubhouse เวอร์ชั่น Android

 Clubhouse แอปฯ โซเชียลมีเดียที่สนทนาผ่าน ‘เสียง’ ชื่อดัง ที่ล่าสุดเปิดให้โหลดใน Google Play ได้แล้ว (ซะที) หลังใช้เวลาพัฒนาอยู่นาน ดังนั้นสำหรับชาว Android ลองมาดูกันว่าหน้าตาและวิธีใช้งานแอปฯ นี้ จะเหมือนหรือต่างกับเวอร์ชั่น iOS ขนาดไหน และตัว Clubhouse ใช้ยังไง ไปดูพร้อม ๆ กันเลยครับ

หลังติดตั้งตัวแอปฯ Clubhouse ในเครื่อง Android แล้ว การใช้งานครั้งแรก หากมีไอดีแอปฯ นี้อยู่แล้ว ก็กด Sigm in ได้เลย ถ้าไม่ ก็กด ‘Get yout username’ จากนั้นก็กรอกเบอร์โทรลงไป ในหน้านี้ก็ไม่ต่างจากเวอร์ชั่น iOS เลย เหมือนกันเป๊ะ ๆ

หลังใส่เบอร์โปร ชื่อนามสกุล และชื่อ Username แล้ว ต่อไปก็เหมือนกับเวอร์ชั่น iOS เลยคือ ต้องให้เพื่อนที่มีบัญชี Clubhouse มากดเชิญหรือ Invite เราด้วยคือถ้าจะสมัครบัญชี Clubhouse นั้น เหมือนต้องให้เพื่อนช่วยยืนยันว่า “เราจะเป็นนักฟังที่ดี” นั้นเอง เท่ากับว่าใน Android ก็หนีไม่พ้นครับ ฉะนั้นจงรีบหาเพื่อนที่เล่น Clubhouse โดยพลัน

ย้อนดูที่มา 6 เทคโนโลยีรถยนต์ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

รู้หรือไม่ว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ ในรถยนต์ที่เราใช้งานกันเพื่อความสะดวกสบายในการขับขี่ หลายอย่างมีที่มายาวนานแล้ว มาย้อนประวัติ 6เทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ สาระดี ๆ น่ารู้ที่คุณไม่ควรพลาด

วิวัฒนาการทางเทคโนโลยีมีการพัฒนาให้เข้ากับยุคสมัยอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เป็นกำลังขับเคลื่อนในการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละพื้นที่ให้มีการเติบโตก้าวทันกระแสสังคมอยู่เสมอ ทางค่ายผู้ผลิตเองจึงไม่หยุดที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อที่จะให้สินค้าและบริการของตัวเองได้ขึ้นไปอยู่อันดับต้น ๆ ของการเป็นตัวเลือกจากผู้ใช้บริการ

เทคโนโลยีในวงการอุตสาหกรรมมีการขับเคลื่อนพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

เทคโนโลยีในวงการอุตสาหกรรมมีการขับเคลื่อนพัฒนาอยู่ตลอดเวลา

ไม่แตกต่างกันในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ไม่หยุดสร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยีด้วยความตั้งใจที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่รถของทางค่ายพวกเขา เราจึงเห็นรถยนต์หลายรุ่นในปัจจุบัน ที่ถูกผลิตออกมาต่างถูกติดตั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ รองรับการใช้งานที่ทั่วถึงและดีขึ้นยิ่งไปเรื่อย ๆ บางอย่างก็เป็นนวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ บางอย่างก็เป็นเทคโนโลยีที่มีการคิดค้นกันมานานแล้วและถูกวิวัฒนาการให้ตอบโจทย์โลกยุคใหม่ เพื่อให้ทันกระแสตลอดเวลา 

ย้อนดูที่มา 6 เทคโนโลยีรถยนต์ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

ย้อนดูที่มา 6 เทคโนโลยีรถยนต์ ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

และวันนี้เราจะมาพูดถึงประวัติความเป็นมาแบบกระชับสำหรับ 6 เทคโนโลยีรถยนต์ ที่มีการคิดค้นมาอย่างยาวนานและถูกใช้มาตลอดแม้กระทั่งในปัจจุบัน ที่ยังต้องพึ่งพาเทคโนโลยีเหล่านี้เช่นเดิม มาดูกันว่าใครกันที่เป็นผู้เริ่มต้นสร้างสรรค์พัฒนาเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกสบายให้เราได้ใช้งานกันในทุกวันนี้

1. ระบบเบรก ABS ที่ถูกพัฒนามาจากเทคโนโลยีการบิน

Ford Zephyr  คือรถรุ่นบุกเบิกที่มีการเริ่มใช้ระบบ ABS

Ford Zephyr  คือรถรุ่นบุกเบิกที่มีการเริ่มใช้ระบบ ABS

เทคโนโลยี ABS คิดค้นมาจากเทคโนโลยีการบินที่เริ่มคิดระบบเบรกขึ้นมาโดยเป็นการต่อยอดจากระบบดรัมเบรก ซึ่งเริ่มในสมัยปีค.ศ.1929 ยุคเฟื่องฟูของดรัมเบรก เพื่อพัฒนาให้การเบรกหยุดความเร็วของเครื่องบินมีประสิทธิภาพมากขึ้น จนกระทั่งเมื่อปีค.ศ. 1960 ระบบ ABS ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยเริ่มมาจากการนำมาติดตั้งใช้ในสนามแข่งรถก่อนที่จะแพร่หลายไปถูกติดตั้งในรถยนต์ทั่วไปบนท้องถนน โดยค่าย Ford เป็นผู้เริ่มบุกเบิกให้การใช้งาน ABS โดยรถรุ่นแรกที่ใช้คือ Ford Zephyr  และปีเดียวกันนั้นทางค่ายรถจากญี่ปุ่น Nissan ก็มีระบบเดียวกันถูกพัฒนาออกมาในรุ่น Nissan President นับว่าเป็นรถคันแรกจากฝั่งญี่ปุ่นที่มีระบบ ABS 

2. ระบบ Cruise Control เทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมาจากผู้พิการสายตา

Ralph Teetor ผู้คิดค้นระบบ Cruise Control

Ralph Teetor ผู้คิดค้นระบบ Cruise Control

เด็กชาย Ralph Teetor วัย 5 ขวบกลายเป็นผู้พิการทางสายตาจากอุบัติเหตุ และเมื่อเติบโตขึ้นเขาได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการทำงานของรถยนต์ การจุดประกายคิดค้นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติวงการรถยนต์เริ่มขึ้นเมื่อในวันหนึ่งของการเดินทางเขาสังเกตุว่าทนายความเจ้าของรถที่เขานั่งมาด้วยจะทำการชะลอรถทุกครั้งขณะที่หันมาสนทนากับเขา และกลับไปเร่งความเร็วเพิ่มขึ้นเมื่อเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้รับฟัง ซึ่งจังหวะการเร่งสลับชะลอรถเช่นนี้สร้างความรำคาญให้แก่ทีเตอร์เป้นอย่างมาก เขาจึงเกิดไอเดียที่จะคิดค้นระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติขึ้นมาให้ได้

สิทธิบัตรอุปกรณ์ควบคุมความเร็วของรถยนต์

สิทธิบัตรอุปกรณ์ควบคุมความเร็วของรถยนต์

เวลาแห่งการศึกษาร่วม 10 ปี ผ่านมาจนถึงปี 1945 ในที่สุด ทีเตอร์ก็ได้จดสิทธิบัติอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรถยนต์ได้สมความพยายาม โดยเทคโนโลยีนี้มีหลากหลายชื่อเลยทีเดียว ก่อนจะลงเอยมาเป็น Cruise Control และถูกนำมาใช้เชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการเมื่อปี 1958 จากการดำเนินการของบริษัทรถยนต์ชื่อดังอย่าง Chrysler และถูกพํฒนามาเป็นระบบที่เราใช้งานอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

3. เทคโนโลยีไฮบริดกับแนวคิดขจัดปัญหากวนใจ

Jakob Lohner กับรถไฮบิรดคันแรกในโลกที่เขาเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา

Jakob Lohner กับรถไฮบิรดคันแรกในโลกที่เขาเป็นผู้คิดค้นขึ้นมา

เทคโนโลยีไฮบริดฟังดูแล้วเหมือนเป็นอะไรที่ทันสมัย หลายคนอาจคิดว่าการเริ่มต้นของไฮบริดอยู่ในยุคสมัยใหม่ ก่อกำเนิดขึ้นพร้อมกับรถยนต์ที่หลายคนเข้าใจว่าเป็นรถยนต์ไฮบริดคันแรกของโลก แต่อันที่จริงแล้วคุณหรือไม่? ว่าการสร้างสรรค์นวัตกรรมผสมผสานระหว่างแบตเตอรี่และเครื่องยนต์มาการคิดค้นมายาวนานกว่าที่คิด เมื่อปี 1900 นักผลิตรถยนต์ชาวออสเตรีย Jakob Lohner มีแนวคิดที่จะแก้ปัญหารถยนต์เสียงดังและน้ำมันที่ส่งกลิ่นเหม็นจากการขับเคลื่อนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน จึงได้ทำการหารือกับ Ferdinand Porsche ชาวเยอรมันผู้ก่อตั้งรถยนต์ Porsche และเกิดแนวคิดสร้างระบบไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ผสานเข้ากันในรถยนต์ และได้มีการติดตั้งก่อนนำไปแสดงโชว์ครั้งแรกที่กรุงปารีสใรปี 1900 และนั่นก็ถือว่าเป็นรถยนต์ไฮบริดคันแรกของโลก

4. ถุงลมนิรภัยจากแนวคิดที่เกิดจากความห่วงใยคนในครอบครัว

John W Hetrick และสิทธิบัตรของเขา

John W Hetrick และสิทธิบัตรของเขา

ระบบความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐานในรถยนต์ทุกคันในปัจจุบัน ถูกบันทึกเอาไว้ถึงจุดเริ่มต้น โดยกล่าวอ้างเอาไว้ว่าถุงลมนิรถัยที่ใช้ในรถยนต์นั้นถูกผลิตออกมาครั้งแรกเมื่อปี 1941 ในลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปอากาศ และจากในรายงานปี 1951 เผยข้อมูลที่ชัดเจนขึ้น โดยมีรายละเอียดบันทึกไว้ว่า เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 1953 วิศวกรอุตสาหกรรมและสมาชิกของกองทัพเรือสหรัฐฯ อเมริกัน จอห์น แฮทริค ได้มีการออกสิทธิบัตรของสหรัฐอเมริกา เกี่ยวกับการจดทะเบียนถุงลมที่เขาออกแบบบนพื้นฐานของประสบการณ์ของเขาเองด้วยการบีบอัดอากาศจากตอร์ปิโด ระหว่างการให้บริการของเขาในกองทัพเรือ บวกกับความปรารถนาที่จะให้ความคุ้มครองแก่ครอบครัวของเขาเองในรถยนต์ของพวกเขาในระหว่างที่มีการเกิดอุบัติเหตุ 

ภาพการทดสอบถุงลมนิรภัยในสมัยโบราณ

ภาพการทดสอบถุงลมนิรภัยในสมัยโบราณ

จนกระทั่งหลังจากสิทธิบัตรหมดอายุลงในปี 1971 มันได้ถูกติดตั้งให้ทำการทดลองใช้งานในรถยนต์ยี่ห้อ Ford เพียงไม่กี่คันเท่านั้น ซึ่งในระหว่างเดียวกัน การคิดค้นและออกแบบถุงลมก็มีการพัฒนาออกมาอย่างต่อเนื่องจนได้มาเป็นแบบที่ตอบโจทย์การใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

5. เข็มขัดนิรภัยแบบสามจุดจากการต่อยอดเพื่อสิ่งที่ดีที่สุด

สิทธิบัตรซ้าย : ต้นฉบับ / สิทธิบัตรขวา : ฉบับปรับปรุงใหม่

สิทธิบัตรซ้าย : ต้นฉบับ / สิทธิบัตรขวา : ฉบับปรับปรุงใหม่

แรกเริ่มของระบบความปลอดภัยในรถยนต์ สมัยที่ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 2 จุดอย่างแพร่หลาย กลับพบปัญหามากมายที่ผู้ใช้งานรถยนต์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่านอกจากจะป้องกันความปลอดภัยได้ไม่ดีแล้ว เหมือนว่าจะสร้างปัญหาให้มากขึ้นอีกด้วยซ้ำ จึงเกิดการคิดค้นเข้มขัดนิรภัยขึ้นมา เป็นการต่อยอดเข็มขัดแบบ 2 จุดเป็น 3 จุด โดยผู้คิดค้นเป็นชาวอเมริกันสองคนคือ Roger Griswold และ Hugh DeHaven ซึ่งรูปแบบของเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดใหม่มีชื่อเรียกว่า CIR หรือ Griswold restrain แต่อย่างไรก็ตามผลงานของทั้งคู่ยังไม่ได้นำมาถูกใช้งานในรถยนต์

Nils Bohlin ผู้นำแนวคิดรูปแบบเดิมไปต่อยอดและได้มาเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด

Nils Bohlin ผู้นำแนวคิดรูปแบบเดิมไปต่อยอดและได้มาเป็นแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุด

จนกระทั่งเมื่อทาง Nils Bohlin วิศวกรชาวสวีดิชซึ่งผู้ผลิตรถยนต์ Volvo ได้นำแนวคิดไปต่อยอดและถูกพัฒนาออกมาเป็นเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดที่มีประสิทธิภาพและใช้งานได้สะดวกกว่ารูปแบบเดิม และถูกจดสิทธิบัตรในอเมริกาเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 1962 และรถคันแรกที่ได้ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุดคือ   หรือ Volvo Amazon ซึ่งการค้นพบนวัตกรรมใหม่นี้ ทาง Volvo ไม่จดลิขสิทธิ์เป็นกรรมสิทธิ์เป็นของคนเองเพียงผู้เดียว ทางค่ายได้อนุญาตให้ผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ๆ ใช้เข็มขัดนิรภัยแบบใหม่นี้ด้วยเเพราะยึดมั่นในหลักอุดมการณ์ว่าความปลอดภัยของผู้ใช้นั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด จนถึงปัจจุบันผ่านมานานร่วม 50 ปีแล้ว สิ่งที่ Volvo สร้างไว้กลายมาเป็นบทบาทหลักสำคัญในวงการรถยนต์ไปอย่างเต็มภาคภูมิ

6. เครื่องเสียงรถยนต์แนวคิดเพื่อความอยู่รอด

สองพี่น้องตระกูล Galvin

สองพี่น้องตระกูล Galvin

ย้อนความกลับไปเมื่อปีค.ศ. 1928  บริษัทผู้ผลิต Battery Eliminators นามว่า Galvin Manufacturing Corporation ถือกำเนิดขึ้นมาภายใต้การจัดตั้งของสองพี่น้องตระกูล Galvin นั่นคือ Paul V. Galvin และผู้เป็นพี่ชายนามว่า Joseph Galvin โดยบริษัทผลิตแบตเตอรี่นี้ ได้ทำให้เครื่องวิทยุที่ใช้กระแสไฟในบ้านสามารถเปลี่ยนมาใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ แต่ธุรกิจนี้ดำเนินการไปได้เพียงแค่ปีเดียว ก็เผชิญภาวะตลาดหุ้นล่มสลายจากพิษเศรษฐกิจอันตกต่ำในยุคนั้น และนั่นทำให้ Battery Eliminators มีบทบาทในตลาดน้อยลงและกลายเป็นสิ่งที่ล้าสมัยไปในที่สุด สองพี่น้องจึงต้องมองหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มาหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจของตนดำเนินการต่อไปได้เพื่อความอยู่รอด

วิทยุรถยนต์เครื่องแรกที่ถูกผลิตภายใต้ชื่อ Motorola

วิทยุรถยนต์เครื่องแรกที่ถูกผลิตภายใต้ชื่อ Motorola

จนเมื่อทั้งคู่ได้ศึกษาและมองเห็นความต้องการตามยุคสมัยของผู้บริโภคที่ประเมินไว้แล้วว่าจะมีการใช้งานอย่างต่อเนื่อง อย่างทางเทคโนโลยีด้านวิทยุที่อยู่ในกระแสได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก Galvin จึงเข้าสู่การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขและประยุกต์ให้มีการติดตั้งวิทยุในรถยนต์และได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยม ประสบความสำเร็จสูงสุด โดยวิทยุติดรถยนต์เครื่องแรก ถูกผลิตขึ้นภายใต้ชื่อ Motorola และพัฒนาต่อเนื่องมาอย่างยาวนานจนกระทั่งแปรผันกลายมาเป็นระบบเครื่องเสียงที่มีออฟชั่น ส่วนเสริมต่าง ๆมาสร้างความสมบูรณ์แบบให้แก่รถยนต์ในปัจจุบัน

วิวัฒนาการของเทคโลยีต่างสร้างสรรค์ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

วิวัฒนาการของเทคโลยีต่างสร้างสรรค์ให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

ในยุคสมัยที่ความล้ำหน้าและอุปกรณ์รองรับทางเทคโนโลยียังเทียบไม่เท่ากับปัจจุบัน แต่ความคิดของคนในยุคนั้นต้องยอมรับว่าสร้างสรรค์มาก ๆ และกลายเป็นสิ่งที่จุดประกายให้คนยุคหลังได้นำมาพัฒนาต่อยอดและกำเนิดสิ่งที่สร้างประโยชน์ให้แก่ชีวิตได้อย่างทรงคุณค่าและเต็มประสิทธิภาพ และวิวัฒนาการทางความคิดของมนุษย์เราก็จะคงดำเนินไปอย่างไม่รู้จบควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ไม่มีวันหยุดขับเคลื่อนเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่าเช่นกัน

AI เทคโนโลยีที่ถูกสร้างมาเพื่อปัจจุบัน สู่อนาคต

AI

AI (Artificial Intelligence) หรือที่เรียกกันว่า “ปัญญาประดิษฐ์”  AI ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีแห่งอนาคตที่กำลังมาแรงในยุคสมัยนี้เลยก็ว่าได้ 

คงต้องยอมรับเลยว่า ปัญญาประดิษฐ์ หรือจะเรียกว่าเป็น Machine Learning เป็นที่นาสนใจมาในระยะเวลาหนึ่งแล้ว จนในปัจจุบัน จะเรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งเทรนด์ ที่คนทั่วโลหให้ความสนใจ และพัฒนาต่อเนื่อง ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในหลากหลายรูปแบบ ทั้งด้านธุรกิจ และด้านอุตสาหกรรมอีกด้วย หรือจะว่าไปแล้วระบบนี้มันเกิดมาเพื่อยุคอนาคตอย่างแท้จริง 

และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญ ให้กับมนุษยชาติ ที่สร้างความสะดวกสบาย ทั้งต่อการดำรงชีวิต และการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ (Big Data) ที่สามารถจะวิเคราะห์ และตอบสนอง ความต้องการ ได้อย่างถูกต้อง และแม่นยำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในภาคธุรกิจ ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง 

AI (Artificial Intelligence) 

เป็นอีกหนึ่งการสร้างระบบการเรียนรู้ข้อมูล และการทำลายข้อมูล  รวมไปถึง Data Platform ต่างๆ ที่เพิ่มศักยภาพในการประมวลผล และการเรียนรู้ โดยระบบปฏิบัติการที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อช่วยในการทำนายผลของข้อมูลได้เป็นอย่างดี

เนื่องจากระบบปฏิบัติการของ AI มีความจำ ในการใช้การเรียนรู้ ผ่านข้อมูลต่างๆได้เป็นอย่างดียิ่ง ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งสามารถสร้าง AI ให้มีความชาญฉลาดมากยิ่งขึ้นได้อีกด้วย จะเรียกได้ว่า เป็นเสมือนอุปกรณ์พิเศษ ที่เพิ่มความสามารถ ในการสร้าง การจดจำ และการประมวลผล 

AI

รวมไปถึงการตอบสนอง ในสถานการณ์ต่างๆ และรวบรวมออกมา เป็นข้อมูล สถิติ ซึ่งจะพบว่าแมชชีนเลิร์นนิ่ง ที่เต็มไปด้วยประสิทธิภาพ ในการเลือกความแตกต่าง การตัดสินใจ ของระบบ AI ที่พัฒนาจนเป็นเสมือนมันสมองของมนุษย์ ที่ตอบสนองความรู้สึก และการรับรู้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งในบางประเทศมีความจำเป็นอย่างมากที่ต้องใช้ทรัพยากรในการประมวลผลจำนวนมาก และการนำเอาฮาร์ดแวร์พิเศษ ที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะในการช่วยการประมวลผลจำนวนมาก เพื่อลดระยะเวลาในการประมวลผลได้เป็นอย่างดี จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการตัดสินใจในการทำเรื่องอยากให้เป็นเรื่องง่ายได้นั่นเอง 

AI

อีกทั้งยังสามารถที่จะช่วยเสริมพลังการแยกแยะได้เป็นอย่างดีด้วย Deep Learning อีกด้วย ซึ่งในเวลานี้ทุกคนสามารถเข้าใจและตระหนักถึงประโยชน์ของ AI ได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าเราสามารถสร้างระบบที่มีความซับซ้อน เพื่อใช้ในการจำแนกและแยกแยะสิ่งต่างๆได้ และเราก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการออกแบบ ui ตามวิธีของการทำงานของสมองมนุษย์เลยทีเดียว 

รวมไปถึงการระบุตัวตน โดยสามารถระบุตัวตนผ่านไบโอเมตทริกซ์ ที่เรียกได้ว่าสามารถที่จะตรวจเช็คอย่างเช่น ลายนิ้วมือ ม่านตา หรือภาษากาย และเสียงได้ โดยการพัฒนาระบบของ AI จึงเป็นอีกหนึ่งความสามารถ ที่จะจดจำรูปแบบ และแยกแยะ เพื่อใช้ในการยืนยันตัวตน หรือระบุตัวตนของผู้ใช้งานได้อีกด้วย

ประโยชน์ของมันยังไม่หยุดแค่นั้น มันยังสามารถที่จะสร้างมา เพื่อรู้จักภาษามนุษย์ ที่ช่วยให้มนุษย์ใช้งานได้เป็นอย่างดี โดยระบบประสาท และประมวลผลภาษาธรรมชาติเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เราสามารถมีปฏิสัมพันธ์ กับคอมพิวเตอร์ ได้อย่างเป็นธรรมชาติอย่างสูงที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่มีการวิเคราะห์คำสั่ง และความต้องการภาษาต่างๆ 

โดยเราจะเห็นได้เป็นอย่างดีในการใช้งานผ่าน Google นั่นเองที่สามารถตอบโต้ และพูดคุยกันด้วยเสียงสังเคราะห์ เสียงที่พูดเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งระบบ ที่สามารถทำงานกันเป็นแบบแผน และเป็นทีมได้ และสามารถโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกสบายและรวดเร็วทันใจ  

AI

เข้าถึงทุกบริการได้ง่ายๆ ด้วยผู้ช่วยเสมือนจริง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้เราสามารถเข้าถึงคลังความรู้ หรือบริการต่างๆได้เป็นอย่างดีได้แบบที่เรียกได้ว่าไม่รู้จบเลยก็ว่าได้ ที่เรารู้จักกันอย่างชัดเจนและเห็นได้อย่างเป็นรูปประธรรมมากที่สุด นั่นก็คือ Siri ซึ่งสามารถเข้าถึง และเข้าใจถึงตารางงาน อีเมล หรือ นาฬิกา 

รวมถึงสิ่งต่างๆที่คุณควรที่จะมีอีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถที่จะเข้าใจความต้องการของมนุษย์ และยังสามารถที่จะใช้ในการบริการ หรือการค้นหา เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์และสร้างความสะดวกสบายได้เป็นอย่างดี 

อีกทั้งยังมีระบบอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีหุ่นยนต์ ที่เรียกได้ว่าถูกนำไปใช้ในวงการอุตสาหกรรมได้อย่างยาวนาน แต่การนำหุ่นยนต์มาประยุกต์ใช้ในภาคธุรกิจ ก็เป็นอีกหนึ่งส่วนในชีวิตประจำวันของเรา ที่มีความจำกัดที่สามารถใช้ได้เลยทีเดียว 

เห็นได้อย่างชัดเจนแล้วว่าประโยชน์ของ AI นั้นมีมากมายหลากหลายรูปแบบให้คุณได้รู้จักกันและถือว่าแต่ละอย่างนั้นค่อนข้างที่จะเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้ใช้งานไม่น้อยเลยก็ว่าได้และเรียกว่ายิ่งพัฒนาไปเรื่อยๆความต้องการเหล่านี้นั้นก็จะเป็นอีกหนึ่งทรัพยากรแห่งมนุษย์ที่เรียกได้ว่าสามารถตอบโจทย์ได้อย่างลงตัวและชัดเจนที่สุดอีกด้วย

AI เทคโนโลยีที่ถูกสร้างมาเพื่อปัจจุบัน สู่อนาคต

เกี่ยวกับเทคโนโลยี

เรื่องชวนคิด : หรือกฎหมาย (ควร) กำหนดทิศทางการพัฒนาเทคโนโลยี

การพัฒนาเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันไม่สามารถดำเนินการได้โดยไม่คำนึงถึงบริบททางกฎหมาย มีแนวคิดนำเครื่องมือทางกฎหมายหลายอย่างมาปรับใช้เพื่อการบริหารจัดการ และกำกับดูแลเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว เมื่อเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใดได้รับการยอมรับจากภาคธุรกิจ ประชาชน และสังคมในวงกว้าง รัฐอาจจำเป็นต้องออกมาตรการบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการสาธารณสุข จ้างงาน หรือสร้างมาตรฐานการวิเคราะห์และประเมินภาษีและความเสี่ยงจากการดำเนินการ เป็นต้น เพื่อป้องกันบรรเทาผลกระทบหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมอย่างผิดวิธี

ที่ผ่านมา มีตัวอย่างของผลกระทบทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมจากการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่จำนวนมาก แต่ที่สำคัญกว่าการใช้กฎหมายเป็นเครื่องรับมือเทคโนโลยีคือ กฎหมายยังมีส่วนสำคัญในการกำหนดกรอบการตัดสินใจ ขณะเดียวกันก็เป็นเกราะป้องกันกรณีมีการนำนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงมาใช้เป็นการทั่วไปในสังคม ยิ่งไปกว่านั้น ในยุคที่เทคโนโลยีเป็นใหญ่ เราอาจลืมไปว่ากฎหมายไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือของรัฐในการจัดการเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น แต่สามารถใช้กฎหมายเป็น “ไม้ตาย” ของสังคมในการคาดการณ์ กำหนดทิศทางของการ “เกิด” “ดับไป” ขององค์ความรู้ต่าง ๆ ได้ด้วยซึ่งเป็นหน้าที่ของกฎหมายที่สำคัญประการหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้เอง นอกจากผู้ยกร่างกฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลต้องปรับตัวให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแล้ว ยังต้องมี “ความกล้าหาญ” และ “ความคิดสร้างสรรค์” ในการพลิกแพลงเครื่องมือทางกฎหมายที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนพฤติกรรมหรือนวัตกรรมเป็นประโยชน์ และยับยั้งการกระทำหรือเทคโนโลยีที่อาจเป็นโทษต่อสังคมโดยรวม

แนวทางการออกกฎหมายเชิงรับ ที่ผ่านมา รัฐบาลใช้มาตรการทางกฎหมายแทรกแซงการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ

ประการแรก เพื่อสนับสนุนส่งเสริมการสร้างและคิดค้นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นแล้ว โดยสร้างระบบการให้และกำหนดสิทธิความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินทางปัญญา แก่บุคคลหรือองค์กรที่สร้างหรือต่อยอดการพัฒนานวัตกรรม

ประการที่สอง วางโครงสร้างกฎเกณฑ์ในการจัดสรรการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางอ้อมต่อประชาชนหรือสังคม โดยเฉพาะกลุ่มที่อาจไม่รู้เท่าทันนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีเหล่านั้น

ตัวอย่างของกฎหมายลักษณะนี้ เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลทั่วไปของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation – GDPR) ซึ่งกำหนดมาตรฐานขั้นสูงคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดให้การเก็บรวบรวม การใช้ การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูลนั้น และสิทธิในการเรียกร้องให้ผู้บริหารจัดการข้อมูลลบข้อมูล ซึ่งในส่วนประเทศไทย คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. …. เมื่อ 22 พ.ค. 2561

การที่รัฐเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี ภายหลังมีการนำเทคโนโลยีเสนอให้ประชาชนเข้าถึงหรือใช้งานแล้ว (ex post facto intervention) เป็นการดำเนินการเชิงรับ (reactive role) แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายจะไม่มีประโยชน์หรือมีบทบาทน้อยลง

กฎหมายเก่า แต่เทคโนโลยีใหม่มา

เมื่อกฎหมายที่มีอยู่แล้วเกิดความกำกวมหรือไม่ชัดเจน เพราะบริบททางสังคมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว รัฐจำเป็นจะต้องเร่งแก้ไขหรือยกร่างกฎหมายใหม่เพื่อรองรับเทคโนโลยีสมัยใหม่ (disruptive technology) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงว่า ปัจจุบันกฎหมายที่กำกับดูแลล้าสมัยและไม่ยืดหยุ่น อย่างไรก็ดี ปัญหาหลักคือ ไม่ว่ารัฐจะพยายามเพียงใดเพื่อออกกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ ให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี แต่ขั้นตอนการกลั่นกรองรวมทั้งกระบวนการร่างกฎหมายใช้ระยะเวลานาน เมื่อกฎหมายหรือกฎเกณฑ์ดังกล่าวมีผลบังคับ เทคโนโลยีก็มักแซงหน้า ทำให้กฎหมายที่ออกใหม่ล้าสมัยตั้งแต่ยังไม่ทันได้เริ่มบังคับใช้

กรณีศึกษาที่น่าติดตามพัฒนาการคือ พ.ร.ก.การประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (บังคับใช้เมื่อ 14 พ.ค. 2561) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ยืมโครงสร้างและกลไกการควบคุมและกำกับมาจากกฎหมายกำกับดูแลหลักทรัพย์ (บังคับใช้ตั้งแต่ปี 2535) ไม่ว่าจะเป็นการกำกับการออกเสนอขายโทเคนดิจิทัลต่อประชาชน (เทียบเคียงการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่ต่อประชาชน) หรือมาตรการการลงโทษเจ้าหน้าที่บริษัทที่นำข้อมูลลับไปใช้หากำไร ด้วยการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ไม่ว่าจะกระทำเองหรือส่งต่อข้อมูลให้ผู้อื่น (คือความผิดเกี่ยวกับ insider trading นั่นเอง)

ในฐานะที่ผู้เขียน ได้รับมอบหมายให้เป็นฝ่ายเลขานุการยกร่างกฎหมาย”คริปโท” ฉบับนี้ หวังอย่างยิ่งว่า กฎหมายดังกล่าวจะบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้ กล่าวคือ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินสมัยใหม่ และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม

10 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก 2019 ที่ทุกคนจะได้เห็น อีกไม่นานเกินรอ

สิ้นสุดการรอคอยกันแล้ว เมื่อบริษัทวิจัยการตลาดไอทีระดับโลก “การ์ทเนอร์” ได้ออกมาฟันธง 10 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก 2019 ซึ่งทุกคนมีแนวโน้มจะได้เห็นกันในปีหน้า

“ในอนาคตอันใกล้นี้ สมาร์ทดีไวซ์ ซึ่งหมายรวมถึง สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ตในมือทุกคน จะเป็นเครื่องมือส่งมอบคอนเทนต์ดิจิทัลล้ำ ๆ ทุกที่ทุกเวลา และเทคโนโลยี นวัตกรรม ที่เราได้สัมผัสกันแล้วในปีนี้ ก็จะยิ่งทวีความฉลาด มีประสิทธิภาพ และล้ำสมัยมากขึ้น ขณะที่เทคโนโลยีที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา ก็จะเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและทยอยเผยโฉมออกมาให้เราได้เห็นกันในปี 2019 ที่จะถึงนี้”

1. เปิดเทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก 2019 ด้วย ‘Autonomous Things AI’ ที่จะฉลาดขึ้นด้วย IoT

AI หรือปัญญาประดิษฐ์ จะเข้ามามีอิทธิพลกับทุกชีวิตมนุษย์และทุกภาคส่วนมากขึ้น ด้วยความสามารถและศักยภาพของ AI ที่จะเพิ่มขึ้น ทำให้อุปกรณ์ เครื่องมือ ต่างๆ มีความสมาร์ทหรืออัจฉริยะมากขึ้น โดยจะมีการประยุกต์เอาเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) มาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงถึงกันและทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายได้ในวงกว้างขึ้น และในปีหน้าเราจะได้เห็น AI ที่ชาญฉลาดเหมือนมนุษย์ เหมือนมี IQ เพิ่มขึ้น และเข้ามามีบทบาทในการทำงานแทนมนุษย์ โดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม ในรูปแบบของหุ่นยนต์, โดรน หรืออากาศยานไร้คนขับ

อย่างไรก็ตาม ฟังแบบนี้แล้ว ใครหลายคนอาจตื่นตระหนกว่า AI ที่มาในรูปแบบของหุ่นยนต์ หรือแม้แต่โดรนจะมาแย่งงานมนุษย์หรือเปล่า ในมุมนี้ รายงานของการ์ทเนอร์ยืนยันว่า แม้ AI จะชาญฉลาดมากขึ้นแค่ไหน แต่ก็สามารถทำงานอยู่ได้ในขอบเขตแคบๆ เพราะอย่างไรเสีย AI ก็ไม่สามารถทำงานที่ต้องอาศัยทักษะการแก้ปัญหาของมนุษย์ได้อยู่ดี

2. วิเคราะห์ข้อมูลง่ายขึ้นด้วยปัญญาประดิษฐ์ Augmented Analytics

การทำ Augmented Analytics ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยี Automated Analytics หรือ Automated Machine Learning จะได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ โดยเทคโนโลยีนี้เป็นตัวแทนของคลื่นลูกที่สามในแวดวงการวิเคราะห์ข้อมูล ทำหน้าที่เหมือน นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ใช้อัลกอริทึมเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลและสมมุติฐานเพิ่มขึ้น ซึ่งนี่จะเป็นการเปลี่ยนโฉมหน้าการวิเคราะห์ข้อมูลในแวดวงธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ โดยทำให้ข้อมูลที่ได้มีมิติ มีความลึกขึ้นโดยไม่มีความคิดเห็นส่วนตัวมาปะปน

และด้วยเทรนด์นี้ จะทำให้เกิดกลุ่ม Citizen Data Scientist มากขึ้นไปด้วย โดยการ์ทเนอรทำนายเอาไว้ว่าภายในปี 2020 จะมีกลุ่ม Citizen Data Scientist เพิ่มจำนวนขึ้นถึง 5 เท่าเลยทีเดียว

3. การพัฒนาในอนาคตจะมี AI นำทาง AI-driven development

แนวทางที่ Data Scientist ต้องทำงานร่วมกับ Software Developer เพื่อพัฒนาโซลูชันส์ด้วยการนำ AI เข้าไปเสริมกำลังจะเปลี่ยนไป เพราะ AI จะเข้ามามีบทบาทเสริมให้แอปพลิเคชันต่างๆ ที่กำลังคิดค้นและพัฒนาขึ้นมามี options หลากหลายและใช้งานง่ายมากขึ้น และ AI เองก็จะเข้าไปมีบทบาทในกระบวนการต่างๆ โดยการ์ทเนอร์ทำนายว่าภายในปี 2020 ที่จะถึงนี้ 40% ของการพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องมี AI Co-developer เข้าไปร่วมพัฒนาด้วย

4. Digital Twin เปลี่ยนโฉมธุรกิจ

Digital Twin (ดิจิทัล ทวิน) หมายถึง การทำสำเนาสิ่งของ อาคาร หรื่อเครื่องจักรในรูปแบบดิจิทัล และไม่ได้หมายถึงแค่การสร้างโมเดลจำลองของสิ่งของในรูปแบบ 3 มิติ แต่รวมถึงการบันทึกข้อมูลสถานะในทุกๆ อย่างของสิ่งของชิ้นนั้น เช่น เพื่อตรวจสอบการทำงาน เพื่อคาดการณ์ความผิดปกติล่วงหน้า หาต้นตอของปัญหาและหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาในอนาคต เป็นต้น

เทคโนโลยีนี้เกิดขึ้นมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมมากขึ้นตามความเฟื่องฟูของ IoT ซึ่งคาดว่าจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในองค์กรธุรกิจต่างๆ เพื่อส่งมอบ คุณค่า ที่ลูกค้าต้องการได้อย่างรวดเร็ว โดยผลสำรวจจากการ์ทเนอร์ ระบุว่าเกือบครึ่งขององค์กรที่มีการนำ IoT เข้ามาใช้ในปีนี้ มีแผนจะติดตั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ทวินเข้าไปด้วย และภายในปี 2020 มีการพยากรณ์ว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 3 เท่า

5. ได้เห็นกันแน่! Edge Computing ที่จะมาพร้อมความสามารถที่ไม่ธรรมดา

โดยปกติแล้ว ถ้าอุปกรณ์ไหนทำหน้าที่เป็น Edge Computing (เอดจ์ คอมพิวติง) ได้ ก็จะสามารถประมวลผลข้อมูลที่รับมาจากอุปกรณ์หลายๆ ตัว แล้วทำให้ข้อมูลที่จะถูกส่งต่อออกไปมีขนาดเล็กลง ปริมาณข้อมูลก็จะน้อยลง ไม่เปลืองแบนด์วิดท์ การประมวลผลในคลาวด์ ก็อาจลดลงด้วย ซึ่งการ์ทเนอร์มองว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า เอดจ์ คอมพิวติง จะยิ่งเก่งขึ้นได้ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะเข้าไป ได้แก่ ชิปเอไอที่ได้รับการออกแบบเฉพาะ อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ และการประมวลผลด้วยเทคโนโลยี 5G รวมถึงจะถูกขับเคลื่อนการทำงานด้วย IoT และมีความสามารถล้ำหน้ายิ่งขึ้น

6. สร้างประสบการณ์ดิจิทัล เหนือจินตนาการด้วย Immersive Experience

Wikipedia ให้คำนิยามสั้นๆ ของ Immersive Technology ว่าหมายถึง เทคโนโลยีที่สร้างความกลมกลืนระหว่างโลกในความจริง (physical  world) กับ โลกจำลองแบบดิจิทัล ด้วยการสร้าง “ความรู้สึกจมดิ่ง” (immersion) ลงไปในโลกเสมือน ซึ่งให้ความรู้สึกคล้ายกับอยู่ในโลกความเป็นจริง

ความแรงของเทคโนโลยีนี้ จะหนุนเสริมกับทิศทางการตลาดยุคใหม่ ที่พร้อมสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะในโลกจริง หรือบนโลกดิจิทัล ที่ผ่านมาผู้สร้างประสบการณ์นี้จะขนเอาทุกวิธีการและกลยุทธ์ที่จะลบหรือเบลอภาพเทคโนโลยี ไม่ให้มากั้นขวางโลกจริงกับโลกดิจิทัลออกจากกัน อย่างการใช้เทคโนโลยีของแพลตฟอร์มการสนทนา เช่น แชตบอท จะเข้ามาเปลี่ยนวิธีการที่มนุษย์โต้ตอบกับโลกดิจิทัล ไปสู่รูปแบบใหม่ หรือการใช้ เทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) การรวมสภาพแวดล้อมจริงกับภาพเสมือน 3 เข้าด้วยกันให้ผู้ใช้มองผ่านกล้อง (Augmented Reality) ด้วยเหตุนี้การรับรู้ต่อโลกดิจิทัลของทุกคนจะเปลี่ยนไปด้วยวิธีการสื่อสารและโต้ตอบในรูปแบบใหม่ระหว่างผู้ใช้งานกับเทคโนโลยีนั่นเอง

7. Blockchain ความหวังใหม่ในการทำธุรกิจ

ที่ผ่านมา Blockchain (บล็อกเชน) ได้สร้างปรากฏการณ์ กระทั่งได้รับการกล่าวขานทั่วโลกว่า เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเปลี่ยนโฉมหน้าของการทำธุรกิจ เนื่องจากบล็อกเชนเข้ามามีบทบาทในการวางระบบจัดแยกเก็บบัญชีธุรกรรมไว้ในที่ต่างๆ โดยกระจายฐานข้อมูลแยกศูนย์แต่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (peer to peer) หรือระบบที่ทุกคนแชร์ข้อมูลกันไปมาโดยไม่มีศูนย์กลางได้

ด้วยเหตุนี้ บล็อกเชนจึงช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายให้ทุกธุรกิจได้ เพราะสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีบล็อกเชนยังมีความเที่ยงตรงสูง จึงสร้างความโปร่งใสและความเชื่อมั่นให้กับธุรกิจได้มากขึ้น ปัจจุบันจึงมีบริษัทขนาดใหญ่บางราย เดินหน้าโครงการนำร่องเกี่ยวกับบล็อกเชนแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่วงการค้าปลีกอย่างวอลมาร์ท หรือบริษัทเดินเรือขนส่งสินค้าระดับโลกอย่าง Maersk

8. พื้นที่อัจฉริยะ Smart Spaces ทวีความจำเป็นยิ่งขึ้น

สภาพแวดล้อมทางกายภาพหรือดิจิทัล ที่ประกอบสร้างขึ้นมา เพื่อให้มนุษย์และเทคโนโลยีมีปฏิสัมพันธ์กันได้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีแบบเปิด การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การทำงานร่วมกัน และระบบนิเวศอัจฉริยะ ทั้งหมดนี้เป็นนิยามของ พื้นที่อัจฉริยะ หรือ Smart Spaces ที่เราจะพบเห็นกันเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะการ์ทเนอร์ฟันธงว่า แนวโน้มการเติบโตของ “พื้นที่อัจฉริยะ” เห็นได้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ผ่านเทคโนโลยีสมาร์ทซิตี้ ห้องทำงานดิจิทัล สมาร์ทโฮม และโรงงาน โรงงานที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องจักร เซ็นเซอร์ และซอฟต์แวร์ เป็นต้น (Connected Factory) นี่เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเรามากขึ้นเรื่อยๆ นับจากนี้ไป

9. ผู้คนจะร่ำร้องหา ความเป็นส่วนตัว จริยธรรม ในยุคดิจิทัลมากขึ้น

ประเด็นเรื่อง Digital ethics and privacy เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่การ์ทเนอร์จัดมาไว้ใน 10 เทรนด์เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก ซึ่งถ้าแปลความหมายกันตรงๆ นี่เป็นเทรนด์เดียวใน 10 เทรนด์ ที่ไม่ได้สื่อถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ล้ำสมัยแต่อย่างใด แต่กลับต้องการสื่อว่าประเด็นด้านจริยธรรมและความเป็นส่วนตัวนั้นได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร และภาครัฐ

โดยผู้คนส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการที่เหล่าองค์กรและภาครัฐจะนำข้อมูลของตนเองไปใช้ ในขณะที่องค์กรและภาครัฐเองก็ต้องออกมาดำเนินนโยบายเชิงรุกเพื่อป้องกันกรณีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่รอให้เกิดขึ้นแล้วมาตามแก้ไขภายหลัง ดังนั้น ข้อตกลงในประเด็นด้านจริยธรรมในการใช้งานข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานนั้นจึงจะถูกยกระดับขึ้นมาในฐานะสิ่งที่ถูกต้อง ที่สมควรทำ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สิ่งที่ถูกบังคับให้ต้องทำ

10. Quantum Computing เปลี่ยนโฉมการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม

เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากการทำงานบนแผงวงจร มาใช้คุณสมบัติพิเศษของอะตอมแทน นี่คือจุดเริ่มต้นของการประกาศศักดา Quantum Computing ให้ชาวโลกได้รู้จัก โดยระบบนี้ได้มาปฏิวัติการแทนค่าข้อมูลด้วย Bit อันประกอบด้วยตัวเลข 0 กับ 1 ทีละตัวแล้วนำไปประกอบกัน มาเป็นการใช้อะตอมที่มีคุณสมบัติของ Quantum Bit หรือ Qubit สามารถประมวลผลเป็นตัวเลข 0 หรือ 1 พร้อมกันได้

โดยคุณสมบัตินี้ทำให้แต่ละ Qubit ทำงานได้เร็วกว่า Bit อย่างมหาศาล นอกจากนี้ Qubit ยังสามารถสื่อสารกับอะตอมที่เป็น Qubit ด้วยกันได้โดยไม่ต้องผ่านสื่อกลาง ทำให้ Qubit สามารถประมวลผลร่วมกันได้ราบรื่นและรวดเร็ว รวมถึงรองรับงานแบบ Multitasking ได้ง่ายกว่า ดังนั้น ต่อจากนี้ไปในเชิงอุตสาหกรรม จะมีการนำ Quantum Computing มาใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้น ที่ผ่านมา เหล่า CIO หรือผู้นำทางด้านระบบ IT ขององค์กรเอง ก็เริ่มทำความเข้าใจในตัวเทคโนโลยีนี้มากขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมว่าในวันที่เทคโนโลยีได้รับการพัฒนาให้เสถียรแล้ว จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยการ์ทเนอร์คาดว่า Quantum Computing นั้นจะเริ่มใช้งานได้อย่างแพร่หลายภายในปี 2023 ถึง 2025 นี้

10 เทรนด์ เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก 2019 ที่ทุกคนจะได้เห็น อีกไม่นานเกินรอ

เกี่ยวกับเทคโนโลยี เทคโนโลยีปัจจุบัน

9 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2021 บทวิเคราะห์จาก Gartner

9 แนวโน้มเทคโนโลยีเชิงกลยุทธ์ในปี 2021 บทวิเคราะห์จาก Gartner

ใกล้จะถึงสิ้นปี 2020 แล้ว จะเห็นได้ว่ามีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย ด้วยสถานการณ์โรคไวรัสระบาด COVID-19 ที่บังคับให้เราต้องเข้าสู่วิถีการใช้ชีวิตในรูปแบบ New normal ซึ่งบางส่วนก็นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ทดแทนไปเลย และด้วยการปรับตัวของมนุษย์ในครั้งนี้ ทำให้ช่วยเสริมให้มีการสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาเพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ ณ ตอนนี้ โดยเทคโนโลยีบางตัวก็จะได้รับการสนับสนุนจาก องค์กรภาครัฐ เอกชน และธุรกิจต่าง ๆ อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะถูกนำไปใช้ต่อในปี 2021 ด้วย

Gartner  บริษัทวิจัยและผู้ให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชั้นนำของโลก ได้วิเคราะห์เกี่ยวกับกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีที่จะมีผลจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั่วโลก โดย Gartner วิเคราะห์ว่า จะมี  9 แนวโน้มกลยุทธ์การใช้เทคโนโลยีที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจริงในปี 2021 ข้างหน้านี้ ซึ่งจะมีดังต่อไปนี้

  • Internet of Behavior (IoB)
  • Total Experience
  • ระบบคลาวด์แบบกระจายคืออนาคตของ Cloud
  • Anywhere operations
  • Cybersecurity Mesh
  • Intelligent composable business
  • ปัญญาประดิษฐ์ (AI)
  • Hyperautomation

โดยรายละเอียดในแต่ละเทรนด์มีดังต่อไปนี้

1. Internet of Behavior (IoB)

ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน การใช้ Internet of Behavior (IoB) เข้ามาช่วยก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เนื่องจาก Internet of Behavior (IoB) จะเป็นการรวบรวมข้อมูลจากหลาย ๆ แห่งมาผสมผสานเทคโนโลยีหลายแบบเข้าด้วยกัน จุดประสงค์เพื่อใช้ในการติดตามตำแหน่ง จดจำใบหน้า ตรวจจับพฤติกรรม เช่น ติดตามพนักงานให้ปฏิบัติตามกฏบริษัท หรือ เฝ้าระวังด้านสุขภาพของพนักงานในช่วงการแพร่ระบาดไวรัส ซึ่งการมีเทคโนโลยีแบบนี้ก็มีทั้งข้อดี ข้อเสีย สำหรับข้อเสียข้อใหญ่นั่นก็คือ อาจจะขัดต่อหลักจริยธรรมได้ เนื่องจากสามารถละเมิดความเป็นส่วนตัวของคนอื่น ไม่แน่ว่าปี 2021 อาจจะมีการปรับปรุงพัฒนา เพื่อทำให้สามารถนำมาใช้งานได้ตามขอบเขตข้อกฏหมายที่กำหนดในแต่ละประเทศนั้น ๆ ก็ได้

2. Total Experience

เป็นการผสมผสานประสบการณ์ทั้งหมดตั้งแต่พนักงาน ผู้บริหาร ลูกค้า เข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงทางผลลัพธ์ธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น เพราะในช่วง COVID-19 ที่ผ่านมา มีผลกระทบที่ทำให้ขาดรายได้ ขาดช่องทางในการขาย ไม่สามารถติดต่อลูกค้าได้โดยตรง สิ่งนี้เองที่จะทำให้องค์กร นำมาปรับใช้ในการดำเนินการธุรกิจ ให้สามารถฟื้นฟูและกลับมายืนต่อได้ โดยอาจจะต้องใช้เทคโนโลยีหรือระบบไอทีใด ๆ เข้ามาช่วยนั่นเอง

3. Privacy-Enhancing Computation

การป้องกันข้อมูลที่ถูกเก็บไว้แล้วจะไม่เพียงพออีกต่อไป องค์กรต้องหาทางปกป้องข้อมูลที่กำลังถูกประมวลผลด้วย และภายในปี 2025 บริษัทใหญ่เกินครึ่งจะต้องเพิ่มความสามารถ เพื่อให้สามารถประมวลผลข้อมูลในสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือและมีผู้เกี่ยวข้องหลายส่วนแบบให้มีทั้งเรื่อง Privacy และ Security

4. ระบบคลาวด์แบบกระจายคืออนาคตของ Cloud

ระบบคลาวด์แบบกระจายคือ บริการคลาวด์ที่กระจายไปยังสถานที่ตั้งที่แตกต่างกันไป แต่การดำเนินการ และการกำกับดูแลรวมถึงการพัฒนา ยังคงเป็นความรับผิดชอบของผู้ให้บริการคลาวด์สาธารณะ ระบบคลาวด์จะทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุน ลดความซับซ้อน และช่วยรองรับกฎหมายที่กำหนดให้ การเก็บข้อมูลบนคลาวด์จะต้องอยู่ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่เฉพาะเจาะจง

5. การทำงานที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่จริง ๆ
( Anywhere operations )

จากเหตุการณ์ COVID-19 ที่ผ่านมาทำให้หลายองค์กรมีการปรับตัว และวางรูปแบบการดำเนินงานที่สามารถให้บุคลากรสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ จากการใช้ IT infrastructure ที่เริ่มตั้งแต่การวางแผนโครงสร้างด้านไอทีที่มั่นคง เพราะรูปแบบการทำงานที่ไหนก็ได้เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้า และผู้ร่วมงานในพื้นที่ที่ห่างไกลได้ง่าย

รูปแบบของการเปลี่ยนแปลงที่ดีคือ ดิจิทัลระยะไกล เช่น ธนาคารที่ให้บริการแบบดิจิทัลโดยจัดการทุกอย่างตั้งแต่การโอนเงินไปจนถึงการเปิดบัญชีแบบดิจิทัล เป็นต้น

6. Cybersecurity mesh

คือหลักการที่ว่า อนุญาตให้ใครก็ตามสามารถเข้าถึงทรัพย์สินต่าง ๆ ขององค์กร เช่น ข้อมูล เอกสาร หรืออุปกรณ์ไอที เป็นต้น ได้อย่างปลอดภัย ที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงทรัพย์สินทางดิจิทัลได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยที่ทรัพย์สินจำนวนมากที่อยู่ภายนอกเขตรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมที่ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ตจะสามารถกำหนดขอบเขตความปลอดภัยได้

7. Intelligent composable business

ธุรกิจที่ชาญฉลาดคือ ธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้ตามสถานการณ์ปัจจุบัน ในขณะที่องค์กรต่าง ๆ ที่เร่งกลยุทธ์ทางธุรกิจดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีความคล่องตัวและการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างรวดเร็วเช่นกัน โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในการดำเนินการให้ประสบความสำเร็จ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องเปิดใช้งานการเข้าถึงข้อมูลได้ดียิ่งขึ้นด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย และมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลเชิงลึกได้อย่างรวดเร็ว

8. วิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์

กลยุทธ์ทางวิศวกรรม AI ที่มีประสิทธิภาพจะเพิ่มความสามารถในการตีความและความน่าเชื่อถือของโมเดล AI และมอบคุณค่าของการลงทุน AI อย่างเต็มที่ โครงการ AI มักประสบปัญหาเกี่ยวกับการบำรุงรักษา การปรับขนาดและการกำกับดูแลซึ่งทำให้เป็นความท้าทายสำหรับองค์กรส่วนใหญ่

วิศวกรรม AI นำเสนอเส้นทางทำให้ AI เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการ DevOps แทนที่จะเป็นโครงการเฉพาะและแยกต่างหาก เป็นการรวบรวมสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อควบคุมความน่าเชื่อถือ

9. Hyperautomation ระบบอัตโนมัติที่เพิ่มมากขึ้น

Hyperautomation คือ แนวคิดที่ว่าทุกอย่างในองค์กรถ้าสามารถทำให้เป็นอัตโนมัติได้ ควรจะทำให้มันเป็นอัตโนมัติ เป็นการใช้ Big Data และพัฒนา AI อย่างสมบูรณ์แบบ เพื่อให้ได้ ประสิทธิภาพประสิทธิผลและความคล่องตัวทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น องค์กรไหนที่ยังไม่เน้นเรื่องดังกล่าวจะถูกทิ้งไว้เบื้องหลังในที่สุด

ปี 2020 ที่กำลังจะผ่านไป มีเรื่องต่าง ๆ มากมาย แผนกลยุทธ์ที่วางไว้ปีที่แล้วแทบไม่สามารถนำมาใช้ได้ หลัก ๆ คงเป็นเพราะการแพร่ระบาดของไวรัสบนโลกจริง แต่ธุรกิจยังต้องดำเนินต่อไปการคาดการณ์เป็นสิ่งจำเป็น แต่สิ่งที่ควรคิดควบคู่ไปด้วยคือเรื่องความปลอดภัยสารสนเทศ เพราะทิศทางที่วางแผนไว้ความปลอดภัยควรมีควบคู่ไปด้วยเช่นกัน สำหรับองค์กรที่ต้องการวางแผนด้านความปลอดภัย สามารถให้ทีมงาน CAT cyfence เป็นที่ปรึกษาได้ เรื่องความปลอดภัยทีมงานพร้อมดูแลด้านความปลอดภัยให้เอง

เทรนด์เทคโนโลยี 2020 พลิกโฉมเศรษฐกิจดิจิทัล และวิถีชีวิต 3 Smart ของคนไทย

เทรนด์เทคโนโลยี 2020 ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทยและเข้ามาพลิกโฉมเศรษฐกิจและทำให้วิถีชีวิตของคนไทยดีขึ้น ที่น่าจับตามอง และองค์กรต่างๆ ต้องปรับตัวอย่างไรกันบ้าง เมื่อมีความท้าทายจากเศรษฐกิจโลกและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

โกศล ทรัพย์ประเสริฐ ที่ปรึกษา บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด(มหาชน) พูดถึงเทรนด์ในปี 2020 เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับคุณภาพชีวิตจะกลายเป็นอุปกรณ์ที่มาแรงมากขึ้น เพราะคนใส่ใจสุขภาพและชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มองถึงการสร้างความยั่งยืนให้กับโลก

เทคโนโลยีแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีที่มาแน่นอน คือ แก็ดเจ็ตที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะฮาร์ดแวร์สำหรับการใช้งานทั่วไปของผู้บริโภค อาทิ แก็ดเจ็ตสำหรับป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่มีคลื่นแม่เหล็กเพื่อบล็อกโมลีกุลของฝุ่น ซึ่งจะเป็นอุปกรณ์เข้ามายกระดับคุณภาพชีวิตของคนให้ดียิ่งขึ้น

อุปกรณ์ที่น่าสนใจอีกหนึ่งตัว คือ แก็ดเจ็ตการรีไซเคิลที่ชื่อว่า The Recycling Identifying Device หรือเรียกว่า R.I.D. อุปกรณ์ช่วยให้ผู้ใช้งานทราบว่าชิ้นส่วนของบรรจุภัณฑ์สามารถนำไปรีไซเคิลได้หรือไม่ เพื่อช่วยลดปัญหาขยะที่ล้นโลกอยู่ในขณะนี้

นอกจากนี้สิ่งที่เห็นในการทำตลาด จะเริ่มมีแบรนด์ต่างๆ ออกมาแสดงจุดยืนถึงการเป็นแบรนด์รักษ์โลก ไม่ว่าจะเป็น โคคา โคล่า ประกาศ ประกาศเปลี่ยน “สไปรท์” เป็นขวดใส เพื่อการจัดเก็บรีไซเคิล หรือกระทั่งบาร์บีคิว พลาซ่า เปิดบริการเดลิเวอรี่ เสิร์ฟอาหารถึงบ้านแถมรักษ์โลก โดยใช้ภาชนะที่ย่อยสลายได้

ภาพ : Shutterstock

ใช้มาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยีดันยอด

ทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ถดถอยในปี 2562 ปีนี้จึงเป็นปีแรกที่ แอร์แม็ส (Hermès) นำสินค้ามาลดราคา หรือกระทั่งนาฬิกา โรเล็กซ์ (Rolex) ต้องทำการตลาดเชิงรุก สะท้อนว่าแบรนด์ใหญ่เริ่มขายสินค้าได้น้อยลงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ธุรกิจจึงต้องใช้มาร์เก็ตติ้งเทคโนโลยีเพื่อผลักดันยอดขายให้มากขึ้น โดยการใช้งานจะไม่ได้หลับหูหลับตาใช้แต่จะเป็นการใช้ที่แมทกับเรียลดีมานต์ ซึ่งจะสร้างคอนเวอร์ชัน (Conversion) คือ การทำแคมเปญโฆษณาที่มีวัตถุประสงค์ให้กลุ่มหมายเกิดการซื้อสินค้าหรือบริการมากกว่าจะเป็นแค่สร้างการรับรู้แต่เพียงอย่างเดียว

ภาพ : Shutterstock

5G จุดเปลี่ยนประเทศไทย

วีรเดช พาณิชย์วิสัย ผู้จัดการฝ่ายการวิจัยด้านโทรคมนาคม และการสื่อสาร บริษัท ไอดีซี ประเทศไทย จำกัด เล่าว่า เทคโนโลยี 5G ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 4G ถึง 100 เท่า และประเทศไทยกำลังได้ใช้ 5G ในช่วงกลางปี 2563 ในบางพื้นที่นั้น

ไอดีซีคาดการณ์ว่าการใช้งานจริงๆ ของประเทศไทยจะเกิดขึ้นในปี 2564 จุดเปลี่ยนของประเทศไทยเมื่อมี 5G  องค์กรใหญ่จะนำเทคโนโลยีไอโอทีมาใช้ภายในโรงงานปี 2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ในขณะที่แรงงานที่ทักษะต่ำจะได้รับผลกระทบจากการทรานส์ฟอร์เมชั่นในอุตสาหกรรมครั้งนี้

วิถีชีวิตของคนไทยจะค่อยๆ เปลี่ยนเข้าสู่ 3 Smart โดยคาดว่าในช่วงปี 2563  โอเปอเรเตอร์หรือค่ายมือถือต่างๆ จะแข่งขันในเชิงของการทำตลาดมากกว่า ว่าแต่ละค่ายมีเครือข่าย 5G ให้บริการอย่างไรกันบ้าง

  • สมาร์ทซิตี้ (Smart City) การสร้างเมืองอัจฉริยะเพื่อทำให้คุณภาพของผู้อยู่อาศัยดีขึ้น
  • สมาร์ทไลฟ์ (Smart Life) คือ การใช้อุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ เพื่อทำให้การดำเนินชีวิตง่ายและสะดวกสบาย
  • สมาร์ทโฮม (Smart Home) เครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะที่จะมีเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันนี้มีเพียงแค่กลุ่มทีวี เครื่องปรับอากาศ เป็นหลัก

สู่ยุคเริ่มต้นของ  AI แท้จริง

ที่ผ่านมาเราพูดถึง AI (Artificial intelligence) หรือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กันมานานมาก แต่ปี 2563 ประเทศไทยกำลังจะก้าวสู่ยุคของการเริ่มต้นเท่านั้น เนื่องจาก AI จะใช้ได้ต้องมีการเก็บ Big Data และต้องใช้เทคโนโลยีเกิดการเรียนรู้ในระดับหนึ่ง

องค์กรของไทยเริ่มให้ความสำคัญกับมาตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ยังขาดนักวิเคราะห์ Big Data ที่จะเชื่อมข้อมูล แต่ปี 2563 จะเริ่มเห็นความพร้อมและนำ AI มาใช้เพื่อทำ เพอร์ซันนัลไลซ์ มาร์เก็ตติ้ง (Personalized Marketing)  เป็นการทำตลาดแบบเฉพาะเจาะจง เข้าถึงรายบุคคลที่เป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

นอกจากนี้โรงพยาบาลจะแข่งขันกันทางด้านแพลตฟอร์ม Big Data in healthcare หรือการนำข้อมูลของผู้ป่วยมาประมวลผลสุขภาพ พร้อมกับระบบการแจ้งเตือนให้เข้ารับการรักษาเพิ่มเติมตามวันและเวลาที่หมอนัด ซึ่งจะช่วยลดปัญหาด้านสุขภาพไปได้ แต่ประเทศไทยยังไม่ได้พัฒนา AI ไปถึงขั้นการผ่าตัด

ซูเปอร์แอปฯ เกิด แอปทั่วไปตาย

อัตราการใช้แอปพลิเคชั่นของคนไทยโดยเฉลี่ย 9 แอปฯ บนมือถือนั้น ทำให้แอปฯ ที่มีเพียงฟังก์ชั่นการใช้งานเพียงอย่างเดียวไม่ตอบโจทย์และล้มหายตายจากไปเป็นจำนวนมาก

และตอนนี้ซูเปอร์แอป หรือแอปที่รวบรวมการใช้งานหลายด้านเป็นทุกอย่างของไลฟ์สไตล์ ก็แจ้งเกิดมาเรียบร้อย เช่น Line Grab แอปธนาคารต่างๆ  ที่รวบรวมการบริการทั้งดูหนัง ฟังเพลง สั่งอาหาร เดินทาง นอกจากนี้ยังจับมือร่วมกับค้าปลีก เพื่อทำรอยัลตี้โปรแกรมในรูปแบบต่างๆ เพื่อนำดาต้ามาวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภค

เทรนด์การตลาดที่เริ่มเห็น อย่าง “The 1 Biz” แอปพลิเคชั่นของกลุ่มเซ็นทรัล เริ่มสร้างอีโคซิสเต็ม รอยัลตี้โปรแกรม สะสมแต้มและแลกของ เปิดโอกาสให้พันธมิตรนอกเครือผนึกกำลังจากปัจจุบัน มีร้านค้ากว่า 1,000 ร้านค้ารวมกว่า 600 แบรนด์ที่เข้าร่วม หรือสร้าง “The 1 Biz” เป็นแอปที่มีบริการใช้งานเพิ่มขึ้น

สรุป

เทคโนโลยีจะค่อยๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือในระบบซัพพลายเชนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็น กระบวนการผลิต โลจิสติกส์ ซึ่งปี 2563 เป็นยุคที่การใช้ Big Data เพิ่งเบ่งบานเท่านั้น โดยจะเห็นการแข่งขัน เพอร์ซันนัลไลซ์ มาร์เก็ตติ้ง (Personalized Marketing) ที่เป็นของแท้และรุนแรงเพื่อช่วงชิงกำลังการซื้อในภาวะที่เศรษฐกิจก็ไม่ค่อยสู้ดี และแน่นอนว่าน่าจะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าในกลุ่มสมาร์ทโฮมจำนวนมากที่ออกมาทำตลาด เพื่อโหนกระแส 5G ที่จะเกิดขึ้น

10 เทรนด์เทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในปี 2020

10 เทรนด์เทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในปี 2020

การ์ทเนอร์ระบุถึงแนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญซึ่งจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอนาคต โดยตอนนี้ยังอยู่ในระยะเริ่มต้นและคาดว่าจะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายและสร้างแรงกระเพื่อมในวงกว้างมากขึ้น หรือมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างรวดเร็วจนถึงระดับสูงสุดในช่วงอีก 5 ปีข้างหน้า

10 แนวโน้มเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดสำหรับปี 2020

Hyperautomation

Hyperautomation เป็นการผสานรวมเทคโนโลยี Machine Learning (ML), ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป และเครื่องมือต่าง ๆ สำหรับระบบงานอัตโนมัติเข้าไว้ด้วยกันเพื่อรองรับการทำงาน ไฮเปอร์ออโตเมชั่นนอกจากจะครอบคลุมเครื่องมือที่หลากหลายแล้ว ยังครอบคลุมทุกขั้นตอนของระบบงานอัตโนมัติ (ค้นหา วิเคราะห์ ออกแบบ ดำเนินการโดยอัตโนมัติ ตรวจวัด กำกับดูแล และประเมินผล) การทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกที่หลากหลายของระบบอัตโนมัติ รวมถึงความเกี่ยวข้องกันของกลไกเหล่านี้ และแนวทางการผสานรวมกลไกต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างกลมกลืนถือเป็นหัวใจสำคัญของไฮเปอร์ออโตเมชั่น เทรนด์ดังกล่าวเริ่มต้นจากกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation – RPA) อย่างไรก็ตาม ลำพังเพียงแค่ RPA ไม่ถือว่าเป็นไฮเปอร์ออโตเมชั่น เพราะระบบไฮเปอร์ออโตเมชั่นจำเป็นต้องอาศัยการผสานรวมเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อทำหน้าที่แทนมนุษย์

Multiexperience

จนถึงปี 2571 ประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีที่ผู้ใช้รับรู้และสัมผัสกับโลกดิจิทัล รวมถึงวิธีการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กับโลกดิจิทัล แพลตฟอร์มการสนทนา (Conversational Platforms) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำหรับรูปแบบการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับโลกดิจิทัล ขณะที่ Virtual reality (VR), Augmented Reality (AR) และ Mixed Reality (MR) ทำให้รูปแบบการรับรู้และสัมผัสกับโลกดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไป การเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนี้ทั้งในส่วนของรูปแบบการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์จะนำไปสู่ประสบการณ์แบบพหุประสาทสัมผัส (Multisensory) ในหลากหลายรูปแบบ (Multimodal)

Democratization of Expertise Democratization

การเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงความเชี่ยวชาญด้านเทคนิค (เช่น ML, การพัฒนาแอพพลิเคชั่น) หรือความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ (เช่น กระบวนการขาย การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์) ผ่านประสบการณ์ที่เรียบง่ายกว่าเดิม และไม่จำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมที่ยาวนานและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น นักพัฒนาทั่วไปที่สามารถทำหน้าที่เป็นดาต้า ไซแอนทิส (Data Scientists) หรือผู้ติดตั้งระบบโดยไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือสามารถพัฒนาโปรแกรมหรือสร้างโมเดลข้อมูลโดยไม่ต้องเขียนโค้ด

จนถึงปี 2566 การ์ทเนอร์คาดว่า 4 ปัจจัยที่สำคัญที่เป็นตัวเร่งแนวโน้ม Democratization ให้เกิดขึ้น ได้แก่ Democratization ในด้านข้อมูลและการวิเคราะห์ (เครื่องมือที่ใช้สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจะขยายไปสู่ชุมชนนักพัฒนาระดับมืออาชีพ), การพัฒนา (ใช้เครื่องมือ AI ในการพัฒนาแอพพลิเคชั่น), การออกแบบ (ขยายไปสู่กระบวนการที่ไม่ต้องมีการเขียนโค้ดหรือใช้โค้ดน้อยมาก โดยอาศัยฟังก์ชั่นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นเพิ่มเติมที่ทำงานแบบอัตโนมัติ เพื่อเสริมศักยภาพให้แก่นักพัฒนาทั่วไป) และความรู้ (บุคลากรที่ไม่ได้อยู่ในสายงานไอทีสามารถใช้เครื่องมือและระบบความเชี่ยวชาญเพื่อปรับใช้ทักษะเฉพาะด้าน) Human Augmentation

Human Augmentation

เป็นการใช้เทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงทางด้านการรับรู้และกายภาพ โดยเป็นส่วนสำคัญของประสบการณ์ของผู้ใช้ Augmentation ในด้านกายภาพจะช่วยปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงขีดความสามารถของมนุษย์ ด้วยการปลูกถ่ายหรือติดตั้งส่วนประกอบทางด้านเทคโนโลยีไว้บนร่างกายของมนุษย์ เช่น อุปกรณ์สวมใส่ ส่วน Augmentation ในด้านการรับรู้จะอาศัยการเข้าถึงข้อมูลและการใช้แอพพลิเคชั่นบนระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป รวมถึงอินเทอร์เฟซแบบ Multiexperience ในสภาพแวดล้อมของสมาร์ทสเปซ ในช่วง 10 ปีข้างหน้า จะมีการยกระดับ Human Augmentation ทั้งด้านกายภาพและการรับรู้ โดยจะได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ของผู้ใช้ และจะนำไปสู่กระแส “Consumerization” รูปแบบใหม่ ซึ่งพนักงานจะพยายามใช้เทคโนโลยีเพื่อเสริมสร้างและขยายขีดความสามารถและประสบการณ์ของตนเอง และปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานภายในสำนักงาน

Transparency and Traceability

ผู้บริโภคมีความตระหนักรู้เพิ่มมากขึ้นว่าข้อมูลส่วนตัวของตนมีมูลค่า และดังนั้นจึงต้องการที่จะควบคุมข้อมูลดังกล่าว องค์กรต่าง ๆ รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นของการปกป้องและจัดการข้อมูลส่วนตัว ขณะที่รัฐบาลเริ่มบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดเพื่อให้มีการคุ้มครองและจัดการข้อมูลดังกล่าวอย่างเหมาะสม ความโปร่งใส (Transparency) และการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนจริยธรรมทางดิจิทัล (Digital Ethics) และการปกป้องความเป็นส่วนตัว ความโปร่งใสและการตรวจสอบย้อนกลับหมายรวมถึงแนวคิด การดำเนินการ เทคโนโลยีที่รองรับ และแนวทางปฏิบัติที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อรองรับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนแนวทางที่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมสำหรับการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ รวมทั้งแก้ไขปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของบริษัทต่าง ๆ องค์กรที่พยายามจะสร้างความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือจำเป็นที่จะต้องมุ่งเน้น 3 ส่วนหลัก ๆ ได้แก่ (1) AI และ ML; (2) การเก็บรักษา การครอบครอง และการควบคุมข้อมูลส่วนตัว และ (3) การออกแบบที่สอดคล้องกันตามหลักจริยธรรม การเพิ่มขีดความสามารถให้กับส่วนขอบของเครือข่าย (Empowered Edge)

เอดจ์คอมพิวติ้ง (Edge Computing)

เป็นโครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดวางการประมวลผลข้อมูลและการรวบรวมและนำเสนอคอนเทนต์ไว้ใกล้กับแหล่งที่มา คลังข้อมูล และผู้ใช้ข้อมูลดังกล่าว โดยพยายามที่จะทำให้แทรฟฟิกและการประมวลผลอยู่ในเครือข่ายโลคอล เพื่อลดความหน่วง ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่ส่วนขอบของเครือข่าย และเพิ่มอำนาจในการควบคุมและตัดสินใจให้กับระบบที่อยู่ส่วนขอบของเครือข่าย

ความสนใจเอดจ์คอมพิวติ้งในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากความจำเป็นของระบบ IoT ที่ต้องรองรับการทำงานในลักษณะกระจัดกระจายในโลกของ IoT ที่มีอยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับอุตสาหกรรมหนึ่ง ๆ เป็นการเฉพาะ เช่น อุตสาหกรรมการผลิตหรือค้าปลีก อย่างไรก็ตาม ในอนาคต เอดจ์คอมพิวติ้งจะเป็นปัจจัยสำคัญต่อทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและทุกการใช้งาน เพราะส่วนที่อยู่รอบนอกของเครือข่ายถูกเสริมศักยภาพด้วยทรัพยากรประมวลผลที่ก้าวล้ำและรองรับการใช้งานเฉพาะด้านมากขึ้น รวมไปถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มากขึ้น อุปกรณ์ลูกข่ายที่ซับซ้อน เช่น หุ่นยนต์ โดรน ยานพาหนะไร้คนขับ และระบบปฏิบัติการ จะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยิ่งขึ้น

ระบบคลาวด์แบบกระจาย (Distributed Cloud)

ระบบคลาวด์แบบกระจายหมายถึงการกระจายตัวของบริการคลาวด์สาธารณะไปยังสถานที่ต่าง ๆ โดยที่ผู้ให้บริการต้นทางของคลาวด์สาธารณะมีหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล ปรับปรุง และพัฒนาบริการดังกล่าว ซึ่งนับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญจากเดิมที่บริการคลาวด์สาธารณะส่วนใหญ่มีลักษณะรวมศูนย์ (Centralized) และการเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่ศักราชใหม่ของคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing)

อุปกรณ์อัตโนมัติ (Autonomous Things)

อุปกรณ์อัตโนมัติหมายถึงอุปกรณ์ทางกายภาพที่ใช้ AI เพื่อทำงานต่างๆ โดยอัตโนมัติ โดยเข้ามาแทนที่มนุษย์ อุปกรณ์อัตโนมัติที่พบเห็นได้ทั่วไปก็คือ หุ่นยนต์ โดรน ยานพาหนะ/เรือไร้คนขับ และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำงานได้เอง การทำงานแบบอัตโนมัติที่ว่านี้จะครอบคลุมขอบเขตมากกว่าการทำงานอัตโนมัติตามโมเดลที่ตั้งค่าไว้อย่างตายตัว กล่าวคือ อุปกรณ์เหล่านี้จะใช้ AI เพื่อทำงานขั้นสูง และโต้ตอบกับคนหรือสิ่งรอบข้างได้อย่างเป็นธรรมชาติมากขึ้น ขณะที่ความสามารถทางเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง กฎระเบียบก็มีการเปิดกว้างและอนุญาตให้ใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้มากขึ้น และสังคมให้การยอมรับเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อุปกรณ์อัตโนมัติถูกใช้งานมากขึ้นในพื้นที่สาธารณะที่ปราศจากการควบคุม

ขณะที่อุปกรณ์อัตโนมัติได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น เราคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์อัจฉริยะที่ทำงานตามลำพังไปสู่กลุ่มอุปกรณ์อัจฉริยะหลาย ๆ เครื่องที่ทำงานร่วมกัน โดยอาจแยกเป็นอิสระจากคนหรืออาจมีการป้อนคำสั่งโดยมนุษย์ ตัวอย่างเช่น แขนกลหลากหลายรูปแบบที่ทำงานอย่างสอดประสานกันในโรงงานประกอบชิ้นส่วน ในส่วนของธุรกิจขนส่ง โซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็คือการใช้อุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อเคลื่อนย้ายพัสดุไปยังพื้นที่เป้าหมาย โดยหุ่นยนต์และโดรนที่เดินทางไปพร้อมกับยานพาหนะอาจจะทำหน้าที่จัดส่งพัสดุถึงมือผู้รับปลายทาง

บล็อกเชนที่ใช้งานได้ในทางปฏิบัติ

เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มีศักยภาพที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยจะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ความโปร่งใส และรองรับการแลกเปลี่ยนมูลค่าในระบบนิเวศน์ทางธุรกิจ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรม และปรับปรุงกระแสเงินสด เทคโนโลยีดังกล่าวช่วยให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสินทรัพย์ จึงลดโอกาสที่จะมีการสลับเปลี่ยนเป็นสินค้าปลอม นอกจากนี้ การตรวจสอบติดตามสินทรัพย์ยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เช่น การตรวจสอบสินค้าประเภทอาหารในซัพพลายเชนเพื่อระบุแหล่งที่มาของการปนเปื้อน หรือการตรวจสอบชิ้นส่วนที่เฉพาะเจาะจงเพื่อเพิ่มความสะดวกในการเรียกคืนสินค้า การใช้งานบล็อกเชนในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีความเป็นไปได้ก็คือ การจัดการตัวตนผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถตั้งค่าสัญญาแบบ Smart Contract ไว้ในบล็อกเชน เพื่อให้เหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทริกเกอร์ให้เกิดการดำเนินการอื่นต่อไป เช่น ระบบจะปลดล็อคการชำระเงินหลังจากลูกค้าได้รับสินค้า

บล็อกเชนยังขาดความพร้อมสำหรับการใช้งานในระดับองค์กร เนื่องจากยังมีปัญหาด้านเทคนิคมากมายหลายประการ เช่น ขาดเสถียรภาพ และไม่สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะมีปัญหาท้าทายดังกล่าว แต่เทคโนโลยีนี้มีศักยภาพที่สูงมากสำหรับการพลิกโฉมอุตสาหกรรมและการสร้างรายได้ ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงควรเริ่มต้นพิจารณาและประเมินความเป็นไปได้ของบล็อกเชน แต่เราคาดว่ายังคงไม่มีการปรับใช้เทคโนโลยีนี้อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมในอนาคตอันใกล้

ระบบรักษาความปลอดภัย AI

AI และ ML จะยังคงถูกใช้งานเพื่อยกระดับการตัดสินใจของมนุษย์ในการใช้งานที่หลากหลาย ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสในการรองรับระบบไฮเปอร์ออโตเมชั่น และการใช้ประโยชน์จากอุปกรณ์อัตโนมัติเพื่อปรับปรุงธุรกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดปัญหาท้าทายใหม่ ๆ สำหรับทีมงานฝ่ายไอทีที่ดูแลด้านความปลอดภัยและผู้บริหารที่ต้องจัดการดูแลความเสี่ยง เพราะจะทำให้มีช่องทางการโจมตีเพิ่มขึ้นอย่างมากจากการใช้งาน IoT, คลาวด์คอมพิวติ้ง, ไมโครเซอร์วิส และระบบที่มีการเชื่อมต่อกันอย่างกว้างขวางในสมาร์ทสเปซ ผู้บริหารฝ่ายรักษาความปลอดภัยและความเสี่ยงควรจะให้ความสำคัญกับ 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่ การปกป้องระบบที่ขับเคลื่อนด้วย AI, การใช้ AI เพื่อปรับปรุงระบบรักษาความปลอดภัย และการคาดการณ์เกี่ยวกับการใช้งาน AI โดยคนร้ายที่ต้องการโจมตีเครือข่าย

10 เทรนด์เทคโนโลยีที่มาแรงที่สุดในปี 2020
เทคโนโลยี ในปี 2020